Oil price Structure ของประเทศไทย

Oil price Structure

Oil price Structure น้ำมันและพลังงาน ถือว่าเป็นต้นทุนที่สำคัญสำหรับการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศ ที่ไม่ใช่ผู้ส่งออก และอย่างประเทศไทยที่มีโครงสร้างของราคา จึงเป็นประเด็นที่สำคัญที่รัฐบาล และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ต้องมีการบริหารจัดการ เพื่อการสร้างความมั่นคงให้กับชาติ

Oil price Structure มีอย่างไรบ้าง

Oil price Structure

ที่อ้างอิงจากทางสำนักงานนโยบาย และแผนพลังงาน จะพบว่าต้นทุนของค่าน้ำมันที่ประชาชน เติมจริงๆ ไม่ได้เป็นแค่ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่น แต่ต้องผ่ารการควบคุม ของกระบวนการหลายอย่าง ซึ่งผ่านการกำกับดูแลโดยทางภาครัฐ ที่ทำให้โครงสร้างของราคาน้ำมันเป็นไปตามลำดับ ดังนี้

ราคาน้ำมัน ณ โรงกลั่น

ที่เป็นต้นทุนที่ถือว่าเป็นราคาน้ำมันที่มาจากโรงกลั่นที่แท้จริง ถ้าคิดเป็นสัดส่วนก็ประมาณ 79% ของราคาน้ำมันที่หน้าจุดขาย สิ่งที่สำคัญควร ทราบถึงราคาของน้ำมัน ณ โรงกลั่นที่ไม่ได้กำหนดโดยที่ต้นทุนของการผลิตหรือ จากโรงกลั่น แต่ที่เคลื่อนไหวไปตามราคาน้ำมันโลก ที่มีความผันผวนไปตามDemand – supply หรือ จะเรียกได้ว่า เป็น ความต้องการทางการซื้อ – ความต้องการทางการขาย โดยที่ทางประเทศไทย ได้มีการอ้างอิงมาจากราคาน้ำมัน ที่สำเร็จรูปจากตลาดสิงคโปร์ ที่บวกค่าขนส่ง ค่าประกัน และค่าการสูญหาย หรือที่เรียกกันว่า ราคา ณ โรงกลั่น

ที่ทางบริษัทที่มีการสำรวจถึงการผลิตปิโตรเลียม ที่ต้องแบกรับความเสี่ยงจากการผันผวน เช่น PTTEP หรือ บริษัท ปตท. ที่สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ถ้าหากราคาของน้ำมันของโลกที่ขึ้นสูง ทางบริษัทลิตและการสำรวจ ก็จะมีกำไรสูงขึ้น แต่ถ้าเป็นไปในทางตรงข้าม ทางบริษัทที่สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ก็อาจจะเกิดการขาดทุนได้เช่นกัน ถ้าหากทางบริษัทไม่ตั้งราคาตามตลาดโลก ที่ผู้บริโภค หรือผู้ค้าปลีกก็จะหันไปนำเข้าน้ำมันจากแหล่งค้าน้ำมัน ที่ใกล้เคียงกัน อย่างประเทศสิงคโปร์แทน แต่สุดท้ายก็ต้องปรับมาขายในราคาตลาดอยู่ดี

ภาษีและกองทุนต่างๆ

ต้นทุนส่วนของตรงนี้ ถือว่าเป็นส่วนที่ควบคุมโดยทางภาครัฐ เพื่อทำให้ราคาน้ำมันในประเทศเหมาะสมกับลักษณะของประเทศ ที่คิดเป็นสัดส่วนโดยประมาณ 19% ของราคาน้ำมันหน้าจุขาย ซึ่งที่เป็นภาษีและกองทุนที่สำคัญในประเทศไทยมีดังนี้

  • ภาษีสรรพสามิต คือภาษีที่มีกรมสรรพสามิตเป็นผู้เรียกเก็บจากสินค้าฟุ่มเฟือย หรือจะให้พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ภาษีที่รัฐเก็บไปเป็น งบประมาณของแผ่นดินนั่นเอง ซึ่งการเก็บภาษีดังกล่างนั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติในภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT ที่มีผู้จับจ่ายใช้สอยมากก็ควรจ่ายภาษีมาก หรือ ภาษีเงินที่ได้ จากบุคคลธรรมดา ที่ผู้มีรายได้มากควรจ่ายภาษีมาก ที่ภาษีสรรพมามิต น้ำมันก็คือผู้ที่ใช้พลังงานก็ควรมจ่ายภาษีมากเช่นกัน
  • ภาษีเทศบาล คือภาษีของท้องถิ่นที่ มีไว้เพื่อนำไปปรับปรุงท้องที่ ที่โรงกลั่นตั้งอยู่
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ภาษีที่เก็บจากผู้บริโภคสินค้าและการบริการในประเทศทั่วไป ตามหลักที่ว่าการที่ ผู้บริโภคมาก ก็ควรจ่ายภาษีมาก
  • กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง คือ เงินส่วนที่เรียกว่าเก็บหรือชดเชยโดยกระทรวงพลังงาน เพื่อลดความผันผวน ของราคาค้าปลีกน้ำมันภายในประเทศไม่ให้ผันผวนมากจนเกิดภาวะผิดปกติ ทางเศรษฐกิจขึ้นในประเทศ  เฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ราคาน้ำมันโลกพุ่งสูงขึ้นอย่างผิดปรกติมาก  เช่นในภาวะสงคราม การมีเงินอุดหนุนจะช่วยสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไม่ให้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสูงจนเกินไป จนเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงจนนำมาซึ่งวิกฤตทางการเงินของชาติ  ช่วงวิกฤตราคาน้ำมันโลกแพงช่วงปี 2548 กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องอัดฉีดเงินสนับสนุนราคาพลังงานไปกว่า 80,000 ล้านบาทจนทำให้เกิดหนี้สะสมอยู่ 2 ปี การสนับสนุนดังกล่าวก็เพื่อป้องกันวิกฤตเศรษฐกิจ ลองนึกภาพว่าอยู่ดีๆ ราคาน้ำมันก็พุ่งพรวดจนค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างมหาศาล กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการบริโภคอาจจะหยุดชะงัก ซึ่งนั่นนำว่าซึ่งการฝืดเคืองของระบบเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
  • กองทุนเพื่อการส่งเสริมมการอนุรักษ์พลังงาน คือ เงินส่วนที่เรียกเก็บ หรือชดเชยโดยกระทรวงพลังงาน เพื่อนำให้พัฒนาประเทศชาติ ทางด้านความยั่งยืน ของพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการอนุรักษ์พลังงาน

ค่าการตลาด

คือส่วนที่เปรียบเทียบเสมือนกำไรขั้นต้น หรือส่วนแบ่งจากทางการขายของน้ำมันที่มีผู้ค้าปลีก น้ำมันจะได้รับ เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ที่คิดเป็นสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 4% ของราคาน้ำมันที่หน้าจุดขาย ที่มีการอ้างอิงมาจากโครงสร้างราคาน้ำมันในปี 2556 โดยที่คิดเงินตรงนี้ไม่ใช่กำไรสุทธุของทางบริษัทของผู้ค้าปลีกน้ำมัน แต่จะต้องนำไปจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าสถานที่ ค่าพนักงาน ค่าสาธารณูปโภค ค่าการขายและตลาดอื่นๆด้วย จนท้ายที่สุด ทางบริษัทค้าปลีกน้ำมันอย่าง ปั้มน้ำมันต่างๆ จะมีกำไรสุทธิอยู่ในช่วง 0.5-1.5% โดยประมาณเท่านั้น

 ซึ่งการทำความเข้าใจในเรื่องของโครงสร้างคาน้ำมันนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

เพราะเงินส่วนหนึ่งก็มาจากค่าน้ำมันที่จะถูกส่งเข้าภาครัฐ ไปเป็นภาษีเพื่อใช้จ่ายของทางรัฐ และเงินสำรองเพื่อใช้ในยามที่ราคาน้ำมันโลกอยู่ในภาวะวิกฤต หากเปรียบเทียบราคาน้ำมันหน้าปั้มน้ำมันกับประเทศอื่นในภูมิภาคก็จะค้นพบว่าใกล้เคียงกัน ยกเว้นประเทศพม่าและมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน ทำให้โครงสร้างการสนับสนุน จากภาครัฐแตกต่างไปจากประเทศที่ต้องนำเข้าน้ำมันอย่างไทย เวียดนาม รวมไปถึงสิงคโปร์ 

CR.UFABET

Related posts